วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

ธ.โลกชี้ไทยต้องปรับปรุงคุณภาพศึกษา

ธ.โลกชี้ไทยต้องปรับปรุงคุณภาพศึกษา

Pic_60555

ตี แสกหน้า อุดมฯเปิดกว้างรับคนรวยมากกว่าจน  ผลิต ป.โท-เอกได้จิ๊บจ๊อย  ขณะที่ สถาบันอุดมศึกษาเกือบร้อยละ  50  ตั้งอยู่ในกทม.ที่มีประชากรอยู่เพียงร้อยละ 10 ของทั้งประเทศ ..

เมื่อ วันที่ 22 ม.ค. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และธนาคารโลก ร่วมกันนำเสนอผลการศึกษาเรื่องการสร้างศักยภาพการแข่งขันของระบบอุดมศึกษา ไทยในเศรษฐกิจโลก โดย ดร.ลูอิส เบนเวนิสเต ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาธนาคารโลก ระบุตอนหนึ่งในรายงานว่า แม้ว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจในการขยายโอกาสทางการศึกษาให้ แก่ ประชากร แต่คุณภาพการศึกษาในประเทศไทยยังเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข ไม่เช่นนั้นจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต  โดยจำนวนผู้เรียนที่เข้าสู่ระดับอุดมศึกษาและจำนวนสถาบันอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว แต่ก็พบว่าเกิดช่องว่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณของบัณฑิต เป็นประเด็นที่ท้าทายความสามารถของผู้รับผิดชอบนโยบายการศึกษาของไทยเป็น อย่างมาก

ดร.ลูอิสกล่าวอีกว่า  โอกาสการเข้าถึงการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของไทยยังไม่มีความเท่าเทียมกัน นักศึกษาที่เข้าสู่สถาบันอุดมศึกษากว่าร้อยละ 50 เป็นกลุ่มผู้มีรายได้สูง  ส่วนผู้มีรายได้ต่ำสามารถเข้าถึงการศึกษาได้เพียงร้อยละ 5 แสดงให้เห็นถึงความไม่เสมอ ภาคในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา  ส่วนรัฐบาลให้เงินอุดหนุนเพื่องานวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ  15  ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)  ถือว่าน้อยมาก ทั้งสถาบันอุดมศึกษาเกือบร้อยละ  50  ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ที่มีประชากรอยู่เพียงร้อยละ 10 ของทั้งประเทศ

ผู้เชี่ยวชาญด้าน การศึกษาธนาคารโลก  กล่าวอีกว่า ประเทศไทยขาดแคลนแรงงาน โดยร้อยละ 80 ของผู้ประกอบการบางประเภท ไม่สามารถหาบุคลากรเข้าทำงานได้ โดยเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์การแพทย์ นอกจากนี้ ประเทศไทยกำลังกำลังประสบปัญหาความไม่สมดุลระหว่างนักศึกษาปริญญาตรีกับ ปริญญาโทและเอกอย่างรุนแรง โดยปริญญาตรีมีร้อยละ 86 ส่วนปริญญาโทและเอกมีอยู่ เพียงร้อยละ 10 ของจำนวนนักศึกษาทั้งระบบอุดมศึกษา และจากการสำรวจยังพบว่าผู้ที่จบปริญญาตรีมีอัตราว่างงานสูงสุด ปริญญาเอกว่างงานร้อยละ 2.6

"โครงการเงินให้กู้และเงินทุนการศึกษา พบว่ามีอยู่มากมาย แต่ขาดประสิทธิภาพเรื่องการบริหารจัดการ โดยเฉพาะเรื่องการใช้หนี้คืนของนักศึกษาที่จบแล้ว สำหรับ สกอ. ควรสร้างแรงจูงใจเพื่อให้มหาวิทยาลัยสร้างรายได้เพิ่มเติม เช่น รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น ส่วนรัฐบาลต้องลดบทบาทการกำกับดูแลอุดมศึกษาลง และให้มหาวิทยาลัยมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการมากขึ้น" ดร.ลูอิสกล่าว.

http://www.thairath.co.th/content/edu/60555



--
     Weblink
seminar
http://seminarmon.blogspot.com
http://seminartue.blogspot.com
http://seminarwed.blogspot.com
http://seminarthu.blogspot.com
http://seminarfri.blogspot.com
http://seminarsat.blogspot.com
http://seminar1951.blogspot.com
http://ilaw.or.th
www.patani-conference.net
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th
http://www.bedo.or.th/default.aspx
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://seminardd.com
www.ipthailand.org
www.joetist.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น