วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

GR-HEP-Cosmo งานประชุมแรกที่รวม ศ.ฟิสิกส์ถึง 5 คน

GR-HEP-Cosmo งานประชุมแรกที่รวม ศ.ฟิสิกส์ถึง 5 คน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 กรกฎาคม 2552 17:56 น.

ศ.แอนน์ เดวิส (ภาพประกอบส่วนหนึ่งจาก สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์)

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ศ.หยู๋เผิง แหยน

ศ.หยู๋เผิง แหยน และ ศ.แอนน์ เดวิส

เวทีเสวนาสาธารณะด้านฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยา

นักเรียนมัธยมร่วมฟังเสวนาสาธารณะด้านฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยา


นายรักพงษ์ กิตตินราดร

(ซ้าย) น.ส.พันธุ์ทิพย์ ฟั่นบ้านไร่ (ขวา) น.ส.ณัฏฐณิชา เขตสูงเนิน

หลังการเสวนา ดร.บุรินทร์ (ขวา) และ ศ.แอนน์ เดวิส ร่วมถ่ายรูปกับพิธีกรในการเสวนา

ครั้งแรกของงานประชุมวิชาการไทย ที่รวม "ศาสตราจารย์" ด้านฟิสิกส์ถึง 5 คน ภายในงานประชุม GR-HEP-Cosmo งานประชุมสำหรับนักฟิสิกส์ทฤษฎี ที่จัดขึ้นในพิษณุโลก พร้อมเวทีเสวนาสาธารณะเล่าเรื่อง "ฟิสิกส์และจักรวาล" แก่ผู้สนใจทั่วไป
       
       สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์สำหรับฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยา (TPTP) ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) ร่วมกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. สถาบันบริหารการวิจัยและพัมนา มหาวิทยาลัยนเรศวร และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมจัดงานประชุม The 4th Siam Symposium on GR-HEP-Cosmo ซึ่งเป็นงานประชุมฟิสิกส์ทฤษฎีทางด้านทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ฟิสิกส์พลังงานสูงและจักรวาลวิทยา ระหว่างวันที่ 26-28 ก.ค.52 ณ โรงแรมรัตนา ปาร์ก
       
       ดร.บุรินทร์ จำกัดภัย หัวหน้าครูสถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ฯ และอาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ มน. กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมวิชาการครั้งแรกของเมืองไทยที่มี "ศาสตราจารย์" ทางด้านฟิสิกส์เข้าร่วมถึง 5 คน ซึ่งเป็นครั้งที่ 4 ของการประชุมฟิสิกส์และเอกภพ (Thai Physics and the Universe Symposium) ของสถาบัน ที่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2546 และต่อเนื่องอีก 2 ปี แต่ได้เว้นว่างไป 4 ปีเพื่อเตรียมความพร้อม
       
       "เป้าหมายของการประชุมนี้ คืออยากให้เด็กได้ฟังวิทยากรระดับโลก และฝึกให้เด็กได้พูดบรรยายในเวทีสัมมนา" ดร.บุรินทร์กล่าว
       
       ทั้งนี้ มีศาสตราจารย์ทางด้านฟิสิกส์ที่เข้าร่วมประชุมและบรรยายพิเศษ คือ ศ.แอนน์ เดวิส (Prof.Anne Christine Davis) จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) สหราชอาณาจักร ศ.เดวิด รัฟโฟโล (Prof.David Ruffolo) จากมหาวิทยาลัยมหิดล ศ.ดักลาส ซิงเกิลตัน (Prof.Douglas Singleton) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียสเตท (California State University) สหรัฐฯ ศ.หยู๋เผิง แหยน (Prof.Yupeng Yan) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ ศ.ไมค์ บิสเซส (Prof.Mike Bisset) จากมหาวิทยาลัยซิงหัว (Tsinghua University) สาธารณรัฐประชาชนจีน
       
       ภายในการประชุม 2 วันแรก ศ.เดวิส ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อพลังงานมืดแบบคาเมเลียน (Chameleon Dark Energy) และ ศ.หยางได้บรรยายในหัวข้อควอนตัมโครโมไดนามิกส์ (Quantum Chromodynamics) โดยศาสตราจารย์ทั้ง 5 ได้บรรยายทางด้านฟิสิกส์ทฤษฎีในวันสุดท้ายของการประชุม GR-HEP-Cosmo ซึ่งเวทีประชุมย้ายไปที่ มน. เพื่อร่วมกับการประชุมวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวรครั้งที่ 5
       
       นอกจากนี้ภายในการประชุม ยังได้จัดเวทีเสวนาสาธารณะ-วัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ TPTP ครั้งที่ 3 เรื่อง "ฟิสิกส์กับจักรวาล" ซึ่งเปิดให้ประชาชนที่สนใจเข้าร่วม 100 คน ซึ่งในเสวนาดังกล่าวมีนักเรียน ระดับ ม.ปลายจากโรงเรียนในพิษณุโลกเข้าร่วม โดยมี ดร.ปิยบุตร บุรีคำ นักฟิสิกส์พลังงานสูง จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.เดวิส และ ดร.บุรินทร์ ร่วมเสวนา
       
       ด้าน นายรักพงษ์ กิตตินราดร บัณฑิตฟิสิกส์จากมาหวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเตรียมตัวเดินทางไปศึกษาต่อทางด้านฟิสิกส์ทฤษฎีด้วยทุนมหาวิทยาลัยยูเทรคท์ (Utrect University) เนเธอร์แลนด์ กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ฯ จัดประชุมโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาบรรยายพิเศษ ทำให้ได้ประโยชน์จากตรงนี้เป็นหลัก ร่วมทั้งได้ความรู้จากอาจารย์ของสถาบันฯ เองด้วย
       
       “ผลจากการเข้าร่วมประชุม ทำให้เราได้กระตือรือล้นมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักฟิสิกส์ทฤษฎี เพราะเราไม่มีอะไรมาคอยจี้ การมาร่วมงานอย่างนี้ ทำให้ได้แรงบันดาลใจที่จะคิดต่อยอด ได้ดูการทำงานนักวิทยาศาสตร์และวิทยากรระดับนานาชาติจากการนำเสนองาน ซึ่งเป็นแนวทางในการทำงานในอนาคต ชอบงานนี้ตรงที่มีการบรรยายเป็นคอร์สสั้นๆ ต่างจากที่อื่นซึ่งพูดแค่ 15 นาที ทำให้ไม่ได้อะไรนัก สุดท้ายได้รู้จักคนเพิ่ม เป็นคนที่สนในเรื่องเดียวกันและอนาคตจะได้กลับมาทำงานร่วมกัน" รักพงษ์กล่าว
       
       ส่วน น.ส.ณัฏฐณิชา เขตสูงเนิน และ น.ส.พันธุ์ทิพย์ ฟั่นบ้านไร่ สองนักศึกษาปี 3 จากภาควิชาฟิสิกส์ มน. ซึ่งเป็นนักเรียนของสถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ เผยกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ว่า แม้จะฟังนักฟิสิกส์ต่างชาติบรรยายพิเศษไม่ค่อยเข้าใจเท่าใด แต่ก็ได้รับแรงบันดาลใจ และได้ทราบจุดบกพร่องว่าต้องกลับไปแก้ไขตรงจุดไหนบ้าง.

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000085428


--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.parent-youth.net
http://ilaw.or.th
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://www.projectlib.in.th
http://elibrary.nfe.go.th
http://www.nstda.or.th/th
http://www.arda.or.th
http://www.nppdo.go.th
http://www.tlcthai.com
http://dbd-52.hi5.com
http://www.oknation.net/blog/assistance
http://weblogcamp2009.blogspot.com/

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ทฤษฎีไอน์สไตน์พิสูจน์ได้ด้วย“สุริยุปราคา”

ทฤษฎีไอน์สไตน์พิสูจน์ได้ด้วย"สุริยุปราคา"
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000083542


ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
 
 
 
 
 




แบ่งปันความทรงจำกับคนอื่นๆ ที่คุณต้องการทางออนไลน์ได้ คนอื่นๆ ที่คุณต้องการ

เราได้อะไรจากปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง

เราได้อะไรจากปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000083556

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com

 
 
 
 
 




ด้วย Windows Live คุณสามารถจัดการ แก้ไข และ แบ่งปันภาพถ่ายของคุณ

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข่าวจาก สกว.(จดหมายข่าว biodata ฉบับที่ 103 วันที่ 16 กรกฎาคม 2552)



ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
 
 
 
 
 



 



Subject: ข่าวจาก สกว.(จดหมายข่าว biodata ฉบับที่ 103 วันที่ 16 กรกฎาคม 2552)
From: biodata@trf.or.th
Date: Thu, 16 Jul 2009 09:52:45 +0700



 สาร  biodata ฉบับที่  103
ช่างเฟอร์นิเจอร์

เรียนสมาชิก biodata ทุกท่าน

        ช่วงนี้งานของทีม biodata ค่อนข้างยุ่ง ส่วนหนึ่งเพราะกำลังพัฒนาหน้า web ใหม่ให้สดใสใช้งานง่ายกว่าเดิม  จึงไม่ได้มีเวลาหา material ใหม่ๆ มาเล่าสู่กันอ่าน  วันนี้จึงขอยืมที่พบในคำนำหนังสือเล่มหนึ่งที่พิมพ์โดย สกว. มาถ่ายทอด  เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่สมาชิกไม่มากก็น้อย

         "ในการบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อเป้าหมายการใช้ประโยชน์ได้นั้น การสนับสนุนในส่วนของ "แนวคิด" มีความสำคัญยิ่งกว่าการสนับสนุนงบประมาณด้วยซ้ำไป เพราะหากแนวคิดไม่ถูกต้อง  งบประมาณที่ให้ไปก็ได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ คืออาจได้เพียงช่วยให้นักวิจัยได้ "ฝึกทำวิจัย" อีกชิ้นหนึ่งเท่านั้น  เราเห็นได้ชัดจากงานวิจัยหลายชิ้นว่า  นักวิจัยถนัดที่จะทำวิจัยแบบ "เอาเทคนิคมานำทาง" (technique-oriented)  คือใช้เทคนิคเป็นเครื่องมือ (tool)   งานประเภทนี้มักจะปรากฎเป็นวิทยานิพนธ์  คือฝึกให้คนทำวิจัยให้เป็น   งานจึงซ้ำๆ ในวิธีการเดิมๆ (ที่ตนเองหรือคนอื่นเคยทำไว้แล้ว  เพียงแต่เปลี่ยนตัวอย่างไป)   เหมือนคนมีค้อนแล้วไล่ตอกตะปูไปในทุกที่  นานไปก็ตอกได้แม่น  รู้น้ำหนักและจังหวะค้อนที่จะทำให้ตะปูเข้าเนื้อไม้โดยไม่งอพับ   คนที่ทำวิจัยแบบนี้จะเก่งในวิธีการ....  แต่เปลืองตะปู  โดยไม่ได้เก้าอี้ที่อยากได้  งานวิจัยที่จะใช้ประโยชน์ได้จริงนั้นต้องมีเป้าหมายการทำ   เป้าหมายที่เห็นชัดที่สุดคือการคิดทำวิจัยแบบ "เอาปัญหาเป็นฐานความต้องการทำ" (problem-based)  และมีเป้าหมายให้ได้คำตอบ (solution-targeted)   โจทย์วิจัยที่มีเจ้าของเป็นสิ่งที่มีบริบท  คือจะตอกตะปูก็รู้ว่ามีปัญหาจากการไม่มีเก้าอี้นั่ง (problem)  จึงตอกตะปูเพื่อให้ชิ้นไม้ยึดติดกันเป็นเก้าอี้ (solution)

        ดังกล่าวแล้วว่า  งานวิจัยแบบ "เอาเทคนิคมานำทาง" นั้น  เหมาะสำหรับการฝึกคนเพื่อสร้างนักวิจัย   จึงเหมาะกับงานประเภทวิทยานิพนธ์  แต่หากหวังผลแค่นั้น  เราแทบไม่ต้องจัดการอะไรเลยก็ได้   เพียงแค่หาคนที่มีค้อนให้เจอแล้วมอบตะปูให้เขาเอาไปหัดตอกให้เป็น  ซึ่งในที่สุดเราก็จะได้คนมีทักษะตอกตะปูเต็มไปหมด  แต่ไม่มีช่างเฟอร์นิเจอร์เลยสักคน  แถมบางครั้งค้อนใช้ไม่ได้  เพราะบริบทเปลี่ยนไป เช่นพบว่า "ที่อยู่ในมือนั้นคือตะปูเกลียว  ค้อนตอกไม่เข้าหรอก  ไปหาไขควงมาขันเถอะ"   ได้ไขควงมาแล้ว  เราอาจพบว่านักวิจัยไม่ทราบว่าการขันเข้านั้นต้องหมุนซ้ายหรือหมุนขวาก็มี!!

หากเราต้องการสร้างคนให้สอดคล้องกับความต้องการในการสร้างเศรษฐกิจ  เราต้องสร้างคนที่ผลิตผลงานที่ใช้ได้  นั่นคือ ต้องสร้างคนแบบเป็นช่างเฟอร์นิเจอร์"

        รัฐบาลมีงบกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 (SP2) หลายแสนล้านบาท  วงการการศึกษาและวิจัยล้วนได้งบประมาณกันมากมาย ผมไม่ทราบเหมือนกันว่าสุดท้ายแล้วการกระตุ้นเศรษฐกิจจะเป็นเพียงเงินหมุนเวียนจากการซื้อขายตะปู  หรือได้เฟอร์นิเจอร์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น  ท่านใดที่มีส่วนในการใช้งบนี้ขอฝากให้คิดถึงการใช้ให้คุ้มค่าด้วย  เพราะนี่คือหนี้สาธารณะ  ที่เราทุกคนมีส่วนเป็นทั้งเจ้าหนี้ (หากแย่งซื้อพันธบัตรทัน) และลูกหนี้ (ในฐานะผู้จ่ายภาษี)

ฝากให้ช่วยกันเข้าหน้า web biodata แล้วใช้งานดู  แล้วแจ้งกลับด้วย  สกว. จะได้ปรับปรุงให้ถูกใจท่าน   

 ข่าวประชาสัมพันธ์

ประกาศทุนของสกว.  คลิก

รายการวิจัยไทยคิด วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม 2552  ตอน "อาหารเพื่อสุขภาพ" สามารถติดตามชมตอนที่ผ่านมาได้    คลิก

ข้อมูล biodata ล่าสุด

ข้อมูลถึงวันที่ 16 กรกฎาคม 2552 มีผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น 9,207 ราย

จำนวนสมาชิกระดับ Platinum:  22 คน
จำนวนสมาชิกระดับ Gold:  73 คน
จำนวนสมาชิกระดับ Silver:  9,111  คน
 

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
16  กรกฎาคม 2552




ด้วย Windows Live คุณสามารถจัดการ แก้ไข และ แบ่งปันภาพถ่ายของคุณ

ข่าวจาก สกว.(จดหมายข่าว biodata ฉบับที่ 104 วันที่ 23 กรกฎาคม 2552)



ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
 
 
 
 
 



 



Subject: ข่าวจาก สกว.(จดหมายข่าว biodata ฉบับที่ 104 วันที่ 23 กรกฎาคม 2552)
From: biodata@trf.or.th
Date: Thu, 23 Jul 2009 10:11:11 +0700




สาร biodata ฉบับที่ 104
สัจธรรมการปฏิรูปการศึกษา
 
เรียนสมาชิก biodata ทุกท่าน

เดิมเราเห็นว่าวิจัยอยู่ในงานหลัง ป.ตรี เท่านั้น   สาร biodata ที่ผ่านมาได้พยายามบอกสมาชิกว่าวิจัยต้องไปอยู่ในการศึกษาทุกระดับ  เราจึงจะสร้างคนที่พร้อมที่จะพัฒนาประเทศด้วยความรู้ได้  หากการทำวิจัยพัฒนาคนในขั้นการศึกษาขั้นพื้นฐานได้  พวกเรา (อาจารย์มหาวิทยาลัย) จะได้ไม่ตำหนิการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าส่งวัตถุดิบไม่พร้อมให้อุดมศึกษา

เพื่อให้เข้าใจเรื่องนี้  เห็นทีต้องทำความเข้าใจระกว่าง "การวิจัย" และ "งานวิจัย"

คำว่า "การวิจัย" ให้ความหมายถึง "กระบวนการ"  ส่วน "งานวิจัย"  (มักจะ) หมายถึง "เนื้องาน"  เราจะได้เนื้องานก็ต่อเมื่อมีกระบวนการทำงานนั้น  หรือที่เรียกว่า "การทำงานวิจัย"

หลายคนในวงการวิจัยไม่เห็นว่างานวิจัยขนาดเล็กที่ สกว. สนับสนุนในการศึกษาคือ "การวิจัย"  เพราะเห็นแต่ "เนื้องาน" ว่าไม่เป็น "งานวิจัย"  มายาคตินี้เกิดจากเอา "งาน" มาบดบัง "การ"  จึงพลอยทำให้ไม่เห็น "พลัง" ของการวิจัยที่อยู่ในการศึกษา  และอาจจะคิดเลยไปว่าวิจัยอยู่แยกจากการศึกษา

เรื่องวิจัยกับการศึกษาที่ "สาร biodata" เสนอมาก่อนหน้านี้เป็นโครงการยุววิจัย  ที่เข้าไปปฏิรูปการวิจัยของนักเรียนมัธยม จากเดิมที่นักเรียนแยกไม่ออกระหว่างวิจัยกับสิ่งประดิษฐ์ (มักจะเอาสิ่งประดิษฐ์มาเป็นวิจัย)   ส่วนครูจะติดกับ "วิจัยในชั้นเรียน" ตาม format ของกระทรวงศึกษาฯ จนลืมวิจัยที่ตนเองเคยทำ (ครูหลายท่านจบปริญญาโททางวิทยาศาสตร์) 

ไม่มีใครสนใจเอาวิจัยเข้าไปสู่การศึกษาระดับขั้นพื้นฐานเลย  เพราะคิดว่านอกจากวิจัยไม่ fit กับ context การศึกษาแล้ว  ยัง "ไม่ใช่เรื่อง" ของตนอีกด้วย

ในขณะที่ สกอ. ได้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 (SP2) กว่าหมื่นล้านบาทเป็นงบวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ  แต่คนกระทรวงศึกษาพูดถึงการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 โดยไม่คิดถึงการวิจัยที่เป็นกิจกรรมการศึกษาเลย   งบ SP2 ที่กระทรวงมีส่วนได้หลายหมื่นล้านบาทนั้นน่าดีใจที่มีส่วนพัฒนาครูอยู่บ้าง   สำหรับในส่วนวิจัยก็ยังใช้เครื่องมือเหมือนเดิม คือ "วิจัยในชั้นเรียน"

ประสบการณ์ของ สกว. ในการสนับสนุนการวิจัยระดับโรงเรียนมัธยมมา 5-6 ปีได้บทเรียนมากมาย  จนเป็นที่ยอมรับของฝ่ายวิจัยและพัฒนา (R&D) ใน สกว. แทบทุกฝ่าย  เกิดการขยายตัวจากฝ่ายอุตสาหกรรม (ยุววิจัยางพารา  ยุววิจัยท่องเที่ยว) ไปสู่ฝ่ายเกษตร (ยุววิจัยไม้ผล)  ฝ่ายชุมชน (ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น)  (ส่วนฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะนั้นมีครุวิจัยอยู่ก่อนแล้ว)  ซึ่งแสดงว่า สกว. ฝ่ายวิจัยและพัฒนามั่นใจในโครงการยุววิจัยว่าจะเป็นรากฐานการสร้างคนที่จะมาเป็นกลไกพัฒนาประเทศ  ตามปณิธานของ สกว. ได้

ความมั่นใจนี้ได้รับการตอกย้ำเมื่อ ศ. นพ. วิจารณ์  พานิช  นำหนังสือ "วิจัย...พลังเปลี่ยนการเรียนรู้" ที่ สกว. เขียนจากประสบการณ์การให้ครูและนักเรียนทำงานวิจัยไปเขียนใน blog ของท่านว่า

"...หนังสือในชุด "วิจัย...พลังเปลี่ยนการเรียนรู้"  ทำให้ผมตาสว่าง เห็นสัจธรรมว่า การวิจัยจะช่วยปฏิรูปการศึกษาหรือการเรียนรู้ได้จริงๆ..."

หนังสือนี้หาซื้อได้ที่ http://www.trf.or.th/book   สมาชิก biodata ได้ส่วนลดตามกติกา

ฉบับนี้ขึ้นต้นไว้ด้วยเรื่อง "การวิจัย" และ "งานวิจัย" แต่ยังไปไม่ถึงไหนเลย  ฉบับหน้าจะต่อให้จบครับ

ข่าวประชาสัมพันธ์

ประกาศทุนของสกว.  คลิก

รายการวิจัยไทยคิด วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม 2552  ตอน "ยุววิจัยยางพารา" สามารถติดตามชมตอนที่ผ่านมาได้    คลิก

ข้อมูล biodata ล่าสุด

ข้อมูลถึงวันที่ 23 กรกฎาคม 2552 มีผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น 9,214 ราย
จำนวนสมาชิกระดับ Platinum 25 คน เพิ่มจากสัปดาห์ที่แล้ว 3 ท่าน ดังนี้
ดร. วารุณี เปรมานนท์
ดร. อุรา ปานเจริญ
ดร. สนทยา ลิ้มมัทวาภิรัติ์
จำนวนสมาชิกระดับ Gold  76  คน
จำนวนสมาชิกระดับ Silver  9110  คน

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
23  กรกฎาคม 2552




แบ่งปันรูปถ่ายกันอย่างง่ายดายด้วย Windows Live™ Photos ลากแล้วปล่อย

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

"ตะวันดับ"สรรพคราส นานสุดในรอบ 1,000 ปี 22 กรกฎาคม 2552


วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11456 มติชนรายวัน


"ตะวันดับ"สรรพคราส นานสุดในรอบ 1,000 ปี 22 กรกฎาคม 2552


โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช




ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน (ภาพโดยวรดิเรก มรรคทรัพย์)
แล้ววันที่ทุกคนรอคอยก็มาถึง!

22 กรกฎาคม พ.ศ.2552 วันที่โลกจะได้บันทึกอย่างเป็นทางการถึงสิ่งที่ได้เกิดขึ้นจริงกับการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงนานที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 นานถึง 6 นาที 39 วินาที

ปรากฏการณ์ที่ไม่เพียงแต่จะนำความตื่นเต้นมาสู่แวดวงดาราศาสตร์ แต่ยังมีคนอีกครึ่งโลกที่กระตือรืนร้นที่จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในนาทีแห่งประวัติศาสตร์นี้ โดยแนวคราสจะเริ่มที่มหาสมุทรอินเดีย พาดผ่านตั้งแต่ประเทศอินเดีย เนปาล ภูฏาน บังกลาเทศ พม่า (เฉพาะส่วนเหนือสุดของประเทศ) ไปจรดชายฝั่งตะวันออกของจีน ก่อนจะไปจบลงที่มหาสมุทรแปซิฟิก

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงสนพระทัยปรากฏการณ์บนท้องฟ้ามานานแล้ว และมักจะเสด็จฯทอดพระเนตรทุกคราที่ทรงมีโอกาส ครั้งนี้ได้เสด็จฯทอดพระเนตรที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

อารี สวัสดี อุปนายกสมาคมดาราศาสตร์ ซึ่งตามเสด็จฯเพื่อถวายคำอธิบายในครั้งนี้บอกว่าได้เตรียมการทุกอย่างไว้พร้อม รวมทั้งการส่งทีมงานไปสำรวจพื้นที่ล่วงหน้าที่จินชานเว่ย เมืองท่าเล็กๆ ริมทะเล ซึ่งจะใช้เป็นสถานที่สังเกตการณ์ปรากฏการณ์ครั้งนี้ในเช้าวันที่ 22 กรกฎาคม

"คนที่เซี่ยงไฮ้ปีนี้ตื่นเต้นกันมากๆ เฉพาะเซี่ยงไฮ้มี 20 ล้านคน และยังจีนทั้งกลางประเทศอีกที่จะได้ดู ยิ่งใหญ่มาก เนื่องจากการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่แล้ว เมื่อ พ.ศ.2498 อยู่ที่ประเทศไทย เห็นได้นานถึง 7 นาที ประเทศจีนไม่มีโอกาสได้เห็น มาเห็นในครั้งนี้ และเป็นการเห็นแบบสรรพคราส คือ เงาของดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์จนมิดทั้งดวง โดยที่เซี่ยงไฮ้ดูได้ดีที่สุดและนานที่สุด คือ 5 นาที 51 วินาที"

น่าแปลกที่ในเมืองไทยนั้นดูเหมือนว่า การมาของปรากฏการณ์ที่ไทยเราเรียกว่า "อาทิตย์ดับ" "ราหูอมดวงอาทิตย์" หรือจะเป็น "กบกินตะวัน" ก็ตาม จะถูกดึงความสำคัญไปจับอยู่ที่คำทำนายของบรรดาโหราจารย์ ในทำนองที่ว่า "คราส" นี้จะนำมาซึ่งความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวงของบ้านเมือง รวมทั้งเกิดหายนะภัยทางธรรมชาติครั้งรุนแรง และกลายเป็น ทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ ชั่วเวลาข้ามคืน

(ซ้าย) เหนือฟ้าเมืองไทยเช้า 22 ก.ค.2552 (ขวา) อารี สวัสดี - กิจกรรมดูดาวจัดโดยสมาคมดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย


ขณะที่ในต่างประเทศ อย่างที่ประเทศจีนมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ครั้งนี้อย่างเต็มที่ ซึ่งห้วงเวลาสำคัญเช่นนี้ยังเป็นโอกาสทองของการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างคึกคัก

บรรดาบริษัทนำเที่ยวน้อยใหญ่ต่างนำเสนอทริปพิเศษ พาไปเที่ยวชมอารยธรรมจีนในแหล่งต่างๆ อาทิ กำแพงเมืองจีน พระราชวังต้องห้าม สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ ฯลฯ แล้วไปจบลงที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นจุดที่สามารถเห็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาครั้งนี้ได้เต็มดวงและยาวนานที่สุด

หรือถ้าเบื่อเที่ยวทางบก ก็มีทริปทางน้ำ ล่องเรือบนเส้นทางแม่น้ำแยงซีเกียง ไปชมเขื่อนยักษ์ Three Gorges แล้วปิดท้ายรายการด้วยการชมปรากฏการณ์ครั้งสำคัญบนดาดฟ้าเรือเหนือน่านน้ำเมืองเซี่ยงไฮ้

ซึ่งกิจกรรมทางการขายการตลาดเช่นนี้มีการเตรียมการล่วงหน้ากันเป็นเดือนเป็นปี

"ปรากฏการณ์สำคัญที่สุดของจักรวาล ไม่มีอะไรที่ยิ่งใหญ่ไปกว่าดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อีกแล้ว ครั้งนี้ถือว่าเป็นการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่นานที่สุดของมนุษย์ชาติที่จะได้ดูในรอบ 1,000 ปีนี้" อาจารย์อารี กล่าวย้ำ

ที่สำคัญคือ สุริยุปราคาที่กำลังจะเกิดขึ้นตั้งแต่เวลาประมาณ 7 โมงเช้า ไปสิ้นสุดที่ 9 โมงเช้า ในวันพุธที่ 22 กรกฎาคม เป็นชุดซารอสที่ 136 ซึ่งเป็นชุดเดียวกับสุริยุปราคาที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2498 ซึ่งเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ครั้งนั้นแนวคราสที่พาดผ่านประเทศไทยสามารถเห็นได้ตั้งแต่จังหวัดกรุงเทพฯ กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เห็นนาทีต่อนาทีของราหูที่ค่อยๆ บดบังดวงอาทิตย์อย่างชัดเจน และยาวนานที่สุดถึง 7 นาที 8 วินาที

บริเวณแนวคราสพาดผ่าน เช้าวันที่ 22 ก.ค.2552


มีนักดาราศาสตร์ชาวต่างประเทศเดินทางมายังประเทศไทยมากมาย เพื่อเฝ้าชมปรากฏการณ์ครั้งนั้น และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จทอดพระเนตรที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย

แล้ว "ซารอส 136" มีความสำคัญอย่างไร ?

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า สุริยุปราคาเกิดจากการที่โลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน โดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง ซึ่งเมื่อมองจากโลกจะเห็นเงาของดวงจันทร์บดบังอาทิตย์ เรียกว่า การเกิดสุริยุปราคา

ความที่ดวงจันทร์เอียง 5 องศา ฉะนั้น จุดตัดของวงโคจรของพระจันทร์ที่หมุนรอบโลกจะขยับถอยหลังไปเรื่อยๆ กระทั่งวนกลับมาอยู่ ณ ตำแหน่งเดิม (จุดที่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก อยู่ตรงกัน และทำให้เงาดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์) นับเป็นเวลา 18 ปี 11 วันโดยประมาณ เรียกว่า 1 รอบราหู หรือ 1 ซารอส

เหตุนี้ซารอสจึงมีด้วยกันหลายซารอส อย่างสุริยุปราคาที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นชุดซารอสที่ 133 ซึ่งเป็นซารอสชุดเดียวกับที่พระนารายณ์ทอดพระเนตรที่พระตำหนักเย็น จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2231

อาจารย์อารีบอกอีกว่า นักดาราศาสตร์ให้ความสำคัญกับซารอส 136 เพราะเป็นซารอสที่มีอายุยืนมากถึง 1,300 กว่าปี

"การเกิดคราสครั้งนี้นับว่าเกิดเต็มดวงนานที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 เพราะหลังจากนี้แม้จะเกิดสุริยุปราคาอีกครั้งก็ไม่มีครั้งไหนที่จะนานเท่านี้อีกแล้ว ซึ่งการเกิดสุริยุปราคาแต่ละครั้งนักดาราศาสตร์จะให้ความสำคัญมาก เพราะจะเป็นโอกาสที่จะได้ศึกษาเรื่องของอุณหภูมิ ความดัน สเปคตรัม ศึกษาโคโรน่า ฯลฯ"

ตัวอย่างเช่น การค้นพบจุดดับจุดใหม่บนผิวดวงอาทิตย์ หรือได้ภาพแสดงเปลวก๊าซที่พุ่งสูงจากผิวดวงอาทิตย์เป็นเกลียว ซึ่งเปลวก๊าซนี้มีอุณหภูมิสูงถึง 3 ล้านองศา ซึ่งนับว่าร้อนกว่าอุณหภูมิของก๊าซที่ผิวดวงอาทิตย์มาก หรือการค้นพบกฎแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของก๊าซ ความดัน และความยาวของเปลวก๊าซ

ปีนี้นอกจากเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ซึ่งจะเห็นได้ยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21 โดยจะเห็นนานที่สุด นานถึง 6 นาที 39 วินาที ที่กลางมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้ญี่ปุ่น ปีนี้ยังเป็น ปีดาราศาสตร์สากล ซึ่งนับเป็นเวลา 400 ปีพอดีที่กาลิเลโอค้นพบว่า โลกกลม ซึ่งเป็นการแย้งกับความเชื่อเดิมที่ว่าโลกแบน

ถือเป็นการเริ่มต้นศักราชใหม่ของดาราศาสตร์สมัยใหม่ก็ว่าได้

สำหรับการเกิดสุริยุปราคาในครั้งนี้ ประเทศไทยจะเห็นเพียงบางส่วน โดยแต่ละภูมิภาคจะเห็นปรากฏการณ์นี้ในเวลาที่แตกต่างกัน ภาคเหนือและตอนบนของภาคอีสานเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสเห็นดวงอาทิตย์แหว่งเว้ามากที่สุด

ส่วนที่ กรุงเทพฯ ดวงจันทร์จะเริ่มเคลื่อนเข้าสู่สัมผัสที่ 1 ในเวลาประมาณ 07.06 น. เงาดวงจันทร์จะบดบังเต็มที่เวลา 08.03 น. โดยจะบดบังร้อยละ 42.02 และสิ้นสุดปรากฏการณ์ในเวลา 09.08 น.

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จึงร่วมกับกับสถาบันอุดมศึกษา 8 สถาบันทั่วประเทศ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จัดกิจกรรม "สุริยุปราคาเหนือฟ้าเมืองไทย 22 กรกฎาคม 2552" เพื่อให้ประชาชนทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ได้มีโอกาสร่วมเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์นี้ไปพร้อมๆ กัน

ใครที่พลาดจากการดูปรากฏการณ์ครั้งนี้ ยังจะได้เห็นอีกครั้งในวันที่ 15 มกราคม 2553 ซึ่งจะเห็นเพียงบางส่วนเช่นกัน

หน้า 20
 

ประมวลภาพ ชาวเอเชียตื่นเต้นชมสุริยุปราคาพาดผ่านหลายประเทศ

สุริยุปราคาในไทย


วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เวลา 16:50:31 น.  มติชนออนไลน์

ประมวลภาพ ชาวเอเชียตื่นเต้นชมสุริยุปราคาพาดผ่านหลายประเทศ


หลายประเทศได้ชมสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดในศตวรรษที่21 ตั้งแต่อินเดีย ปากีสถาน ญี่ปุ่น ฮ่องกง พม่า เวียดนาม จีน ไม่เว้นแม้แต่ไทย


ในอินเดีย หญิงนับถือศาสนาฮินดูลงล้างตัวในแม่น้ำคงคาในเมืองพาราณสี ระหว่างเกิดสุริยุปราคา ซึ่งมีความเชื่อต้องล้างตัวเพื่อรับสิ่งเข้ามาในชีวิต ขณะที่พระสงฆ์ในพม่าสวดภาวนาต่อหน้าเจดีย์ชเวดากอง อีกประเทศ นักศึกษามหาวิทยาลัยเวียดนามหลายคนให้ความสนใจต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ ไม่ต่างจากนักเรียนในญี่ปุ่นและฮ่องกงที่แห่ชม

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1248255675&grpid=01&catid=04
--
ขอเชิญอ่าน  blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.thaiyogainstitute.com
http://www.thaihof.org
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://dbd-52.hi5.com

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

40 ปี"มนุษย์เหยียบจันทร์" กับความฝันสำรวจจักรวาล

วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6809 ข่าวสดรายวัน


40 ปี"มนุษย์เหยียบจันทร์" กับความฝันสำรวจจักรวาล





นีล อาร์มสตรอง ถ่ายภาพบัซ อัลดริน หลังเหยียบดวงจันทร์
วันจันทร์ 20 ก.ค.ที่ผ่านมา เป็นวันเฉลิมฉลองครบรอบ 40 ปี "มนุษยชาติ" สร้างประวัติศาสตร์จารึกรอยเท้าบนดวงจันทร์ ช่วยจุดประกายไฟแห่งความฝันมุ่งหน้าสำรวจห้วงจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลต่อไป แม้มีอุปสรรคมากมายรออยู่ข้างหน้า

โครงการ อพอลโล หรือโปรเจ็กต์ อพอลโล ของสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (นาซ่า) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2504 ตามนโยบายประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคเนดี้ (เจเอฟเค) ซึ่งต้องการส่งชาวอเมริกันไป "เหยียบ" พื้นผิวดวงจันทร์ให้ได้ก่อนหน้ามนุษย์อวกาศ "โซเวียต" ชาติปฏิปักษ์สำคัญยุคสงครามเย็น

จุดเริ่มต้นโครงการดังกล่าวอาจเรียกว่าเต็มไปด้วยโศกนาฏกรรม หลังการทดลองยิงแคปซูลยาน "อพอลโล 1" ประสบอุบัติเหตุเพลิงลุกไหม้ ส่งผลให้มนุษย์อวกาศ 3 คนต้องเสียชีวิต ทั้งกัส กริสซัม, เอ็ด ไวต์ และโรเจอร์ เชฟี

การพัฒนาโปรเจ็กต์อพอลโลเดินหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง

กระทั่งพบความสำเร็จจนได้ในภารกิจยิงจรวดแซตเทิร์น 5 ส่งยาน "อพอลโล 11" และยานลูกสำรวจดวงจันทร์รหัส "อีเกิ้ล" ออกนอกวงโคจรโลก เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2512 พร้อมมนุษย์อวกาศ 3 คน ได้แก่

นีล อาร์มสตรอง ผู้บัญชาการภารกิจ, เอ็ดวิน "บัซ" อัลดริน นักบินยานอีเกิ้ล และไมเคิล คอลลินส์ นักบินยานบังคับการ

พัฒนาการ"ชุดอวกาศ"

(1) ชุดมนุษย์อวกาศยุคแรกของนาซ่า ที่ใช้ใน "โปรเจ็กต์เมอร์คิวรี่" พัฒนาจากชุดนักบินรบ ภายในบุด้วยยางสังเคราะห์นีโอพรีนเคลือบไนลอน ส่วนชั้นนอกทำจากไนลอนผสมอะลูมิเนียม

(2) จอห์น เกล็น สร้างประวัติศาสตร์เป็นมนุษย์อวกาศอเมริกันคนแรกที่สวมชุดอวกาศเมอร์คิวรี่โคจรรอบโลก เมื่อปี 2505

(3) นีล อาร์มสตรอง ว่าที่มนุษย์คนแรกของโลกที่เหยียบดวงจันทร์และผบ.ยานอพอลโล 11 ทดลองสวมชุดอวกาศโครงการ "เจมินี่โปรเจ็กต์" รุ่น "จี-ทูซี"

(5) เอ็ด ไวต์ สวมชุดเจมินี่ ปฏิบัติภารกิจสเปซวอล์ก หรือย่ำอวกาศ นอกตัวยาน "เจมินี่ IV"

(6) ต้นแบบชุดอวกาศของโครงการ "โปรเจ็กต์อพอลโล" ทดสอบปี 2511

(7) อลัน เชพเพิร์ด ผบ.ยานอพอลโล 14 ตรวจสอบชุดอวกาศก่อนออกทำภารกิจเหยียบผิวดวงจันทร์ ปี 2514

(8) บัซ อัลดริน มนุษย์อากาศอพอลโล 11 ลงเหยียบผิวดวงจันทร์ครั้งแรก วันที่ 20 ก.ค. 2512

(9) ชุดอวกาศ "เอสทีเอส-1" สำหรับนักบินกระสวยอากาศ ใส่เพื่อเตรียมพร้อมดีดตัวหนีภัย

(10) ชุดอวกาศสีส้มสำหรับนักบินกระสวยอากาศ คุ้นตากันดีในหนังไซไฟฮอลลีวู้ด

(11) บรูซ แม็กแคนเดิล สวมชุด "MMUs" ติดไอพ่นในอวกาศเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2527

(12) ต้นแบบชุดอวกาศในอนาคตของนาซ่า เตรียมใช้ในภารกิจบินไปกลับดวงจันทร์ปี 2563

(14) ต้นแบบชุดอวกาศสำหรับใช้ชีวิตอยู่บนดวงจันทร์





ก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ

โครงสร้างยานอพอลโล 11 ประกอบด้วยยานย่อย 3 ส่วน

1.ยานบังคับการโคลัมเบีย 2.ยานบริการ และ 3.ยานอีเกิ้ล ซึ่งออกแบบให้โดยสารได้เพียง 2 คน

วันที่ 20 กรกฎาคม 2512 นีล อาร์มสตรอง กับบัซ อัลดริน ควบคุมอีเกิ้ลบินเดี่ยวลงจอดยังพื้นผิวดวงจันทร์ตรงจุดที่เรียกว่า "ทะเลแห่งความสงบ" ขณะที่คอลลินส์เฝ้าดูสถานการณ์อยู่บนยานบังคับการ เช่นเดียวกับประชากรทั่วโลกที่รับชมนาทีระทึกผ่านการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์

โดยเมื่ออาร์มสตรองสร้างประวัติศาสตร์เป็นมนุษย์คนแรกที่เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ เขาได้กล่าวอมตวาจา นั่นคือ

"That"s one small step for a man, One giant leap for mankind."

"นี่เป็นก้าวเล็กๆ ของมนุษย์คนหนึ่ง, แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ"

ปฏิบัติการทดลองและเก็บตัวอย่างทางวิทยาศาสตร์บนดวงจันทร์ของนีลและอัลดรินผ่านไปอย่างราบรื่น ใช้เวลาราว 2.5 ชั่วโมงก็นำอีเกิ้ลกลับมายังอพอลโล 11 และมนุษย์อวกาศทั้ง 3 เดินทางกลับสู่พื้นโลกโดยปลอดภัยบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ในฐานะวีรบุรุษ

เป้าหมายต่อไป"ดาวอังคาร"

1.ส่ง"อพอลโล 11" สู่อวกาศ
2.ภาพถ่ายโลกจาก อพอลโล 11"
3,4,6.นีล อาร์มสตรอง และบัซ อัลดริน ปักธงชาติสหรัฐอเมริกา และทำการเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์บนดวงจันทร์
5.ยานอีเกิ้ล บินขึ้นจากผิวดวงจันทร์


40 ปีเต็มหลังวันพลิกประวัติศาสตร์โลกดังกล่าว ดร.บัซ อัลดริน ได้เปิดใจให้สัมภาษณ์ถึงหนึ่งในนโยบายนาซ่าที่ตั้งเป้าส่งมนุษย์กลับไปดวงจันทร์อีกครั้งภายในปี 2563 ว่า

"เราจะกลับไปดวงจันทร์อีกทำไมกันครับ จริงอยู่บางประเทศต้องการไปดวงจันทร์เพื่อเกียรติภูมิของชาติ เพื่อสร้างชื่อว่าเป็นชาติแรกในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งคนไปดวงจันทร์ และต้องการให้นาซ่าลงไปแข่งขันด้วย แต่ไม่มีเหตุผลที่เราต้องทำแบบนั้น"

"เราควรมองไปที่ภารกิจระยะยาวในอวกาศ เช่น บินสำรวจดาวเคราะห์น้อย ตั้งฐานถาวรบนดวงจันทร์ รวมถึงเดินหน้าแผนสำรวจดาวอังคาร เพราะเป็นดาวดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีความเป็นไปได้ในการตั้งนิคมมนุษย์มากที่สุด

"สหรัฐช่วยพาโลกมนุษย์ไปสู่ดวงจันทร์เมื่อ 40 ปีก่อน และมีความสามารถพอจะช่วยพาโลกมุ่งตรงไปสู่ดาวอังคารเช่นกัน สิ่งที่เราต้องการก็คือความมุ่งมั่น เจตจำนงอันแรงกล้า และจินตนาการ"

นอกจากนั้น อัลดรินยังกล่าวสนับสนุนโครงการ "โฟบอส-กรุนต์" ของสำนักงานอวกาศรัสเซีย ซึ่งมีแผนส่ง "หุ่นยนต์" ไปสำรวจและเก็บตัวอย่างจากพื้นผิวดวงจันทร์โฟบอสของดาวอังคารกลับพื้นโลกภายในปี 2555

เพราะโฟบอสเป็น "ฐานปฏิบัติการ" ที่เหมาะมากสำหรับงานควบคุมงานส่งหุ่นยนต์ก่อสร้างโครงสร้างต่างๆ บนผิวดาวอังคาร

ฐานคนบนดวงจันทร์

นักวิทยาศาสตร์-นักดาราศาสตร์หลายสถาบันในสหรัฐมองต่างมุมกับอัลดริน

อาทิ ดร.แจ๊ก เบิร์น นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคโลราโด ซึ่งเห็นว่า นับตั้งแต่โครงการอพอลโล 11 เป็นต้นมา มนุษย์ไปดวงจันทร์มาแล้ว 6 ครั้ง แต่รวมเวลาอยู่บนดวงจันทร์ไม่ถึง 13 วัน

องค์ความรู้ทั้งหลายเกี่ยวกับดาวบริวารของโลกดวงนี้จึงยังไม่ลึกซึ้งพอ ทั้งที่การศึกษาดวงจันทร์ชนิดเจาะลึกจะช่วยไขปริศนาต้นกำเนิดระบบ "สุริยจักรวาล" และการก่อกำเนิดของดาวเคราะห์ได้เช่นกัน

ในส่วนของนาซ่าเองขณะนี้ยังพยายามสานต่อนโยบายอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ซึ่งตั้งเป้าส่งมนุษย์ไปย่ำดวงจันทร์อีกครั้งไม่เกินปี 2563 โดยเชื่อมั่นว่า การส่งมนุษย์ไปทดลองอาศัย-ใช้ชีวิตถาวรบนดวงจันทร์จะเป็นเหมือน "แบบฝึกหัด" ชั้นเยี่ยมก่อนส่งมนุษย์บุกดาวอังคารต่อไป

อย่างไรก็ตาม ปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็มีส่วนขัดขวางความคิดดังกล่าว จึงต้องรอดูว่ารัฐบาลชุดประธานาธิบดีบารัก โอบามา รวมทั้งสภาสหรัฐ จะตัดสินใจอย่างไรเพราะต้องใช้เงินงบประมาณไม่น้อยเพื่อสานฝันให้เป็นจริง


http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNVEl4TURjMU1nPT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHdOeTB5TVE9PQ==
หน้า 21


--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.thaiyogainstitute.com
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://icann-ncuc.ning.com
http://dbd-52.hi5.com
http://www.webmaster.or.th
http://www.thailandshowtime.com/2009

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

4 คนวงในเผย 4 ข้อประโยชน์ "นิวเคลียร์"



 


4 คนวงในเผย 4 ข้อประโยชน์ "นิวเคลียร์"
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2552 11:54 น.
ได้รู้จักและประจักษ์ถึงโทษของ "นิวเคลียร์" กันมาก็มาก แต่ในความน่าสะพรึงกลัว ยังมีประโยชน์ที่หลายคนอาจจะไม่ทราบมาก่อนซ่อนอยู่ ซึ่ง 4 คนวงในที่ส่วนทำงานใกล้ชิดกับสารรังสีได้ชี้ให้เห็น
       
       ทีมขาววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์เก็บตกความเห็นจากการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งที่ 11 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 ก.ค.52 ณ หอประชุมมหิศร ไทยพาณิชย์ปาร์คพลาซ่า ซึ่งมีการเสวนา "สังคมไทยได้อะไรจากเทคโนโลยีนิวเคลียร์" ในวันสุดท้าย โดยผู้คร่ำหวอดในวงการรังสีทั้ง 4 ท่านได้ชี้ถึงข้อดีของ "นิวเคลียร์" ไว้ดังนี้

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
พญ.ภาวนา ภูสุวรรณ
พญ.ภาวนา ภูสุวรรณ ภาควิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
       
       "การใช้รังสีทางการแพทย์นั้น หลักๆ ใช้ด้านการรักษาและการวินิจฉัย ซึ่งมีการใช้สารรังสีกับผู้ป่วยทั้งฉายรังสีด้านนอกรางกายของผู้ป่วย และสอดใส่เข้าไปในร่างกายผู้ป่วย เพื่อรักษาและติดตามระดับความรุนแรงของโรค รวมทั้งการถ่ายภาพเพื่อการวินิจฉัยด้วยเครื่อง PET scan หรือ CT scan และเครื่องที่รวมสมบัติของเครื่องทั้งสอง PET/CT ซึ่งในไทยมี 5 เครื่อง และส่วนใหญ่ใช้เพื่อรังษาโรคมะเร็งลำไส้ และมะเร็งปอด"

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
น.ส.รัชฎา อินทรกำแหง
น.ส.รัชฎา อินทรกำแหง นักวิชาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
       
       "การใช้รังสีด้านการเกษตรนั้น ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและลดศัตรูพืช โดยใช้รังสีฉายเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้เกิดการกลายพันธุ์แล้วได้สายพันธุ์ที่ดีขึ้นและฉายรังสีเพื่อให้ศัตรูพืชเป็นหมันแล้วปล่อยสู่ธรรมชาติเพือ่ลดการจับคู่ผสมพันธุ์ แต่ยังมีการฉายรังสีเพื่อสุขอนามัยพืชเพื่อการส่งออก โดยฉายรังสีให้กับพืชผักผลไม้เพื่อจำกัดศัตรูพืชและป้องกันการปพน่กระจายของศัตรูพืชควบคุมตามกฎหมายด้านสุขอนามัยพืช ซึ่งเดิมสหรัฐฯ ยอมให้ไทยส่งออกผลไม้เพียงไม่กี่ชนิดเข้าประเทศ แต่ตั้งแต่ 2549 สหรัฐฯ ยอมรับผลไม้ไทยที่ผ่านการฉายรังสีมากขึ้น"

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ดร.กมล ตรรกบุตร
ดร.กมล ตรรกบุตร ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
       
       "เนื่องจากไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าถึง 70% ซึ่งก๊าซธรรมชาติจะหมดลงในอีกไม่กี่ปี และเมื่อเดือน เม.ย.ปีที่ผ่านมา เรามีปัญหาเรื่องไฟฟ้าเนื่องจากก๊าซธรรมชาติจากพม่าส่งมาไม่ได้ เราจึงต้องหาทางออกด้วยการผลิตไฟฟ้าต้นทุน 5 บาท ขาย 3 บาท ดังนั้นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จึงเป็นทางออก ซึ่งถ้าเทียบสัดส่วนเชื้อเพลิง ถ่านหิน 1 กิโลกรัมให้ไฟฟ้า 3 หน่วย แต่ยูเรเนียมในปริมาณเท่ากันให้เชื้อเพลิง 300,000 หน่วย ตกแล้วเราจะใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้าใช้ปีละ 25 ตัน ซึ่งการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นี้จะได้ข้อสรุปในปลายปี 2553 จากนั้นจะใช้เวลาอีก 3 ปีเพื่อออกแบบ แล้วใช้เวลาอีก 5-6 ปีเพื่อก่อสร้าง"

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
นายถาวร เกตุสุวรรณ (ภาพบุคคลทั้งหมดจากฝ่ายจัดงาน)
นายถาวร เกตุสุวรรณ จาก บริษัท ปตท.อะโรมาติกส์และการกลั่น จำกัด
       
       "การใช้นิวเคลียร์ในโรงงานอะโรมาติกส์และโรงกลั่นของ ปตท. ใช้เยอะในด้านการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย ซึ่งเครื่องจักรในโรงงานจะเดินเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง การหยุดเดินเครื่องเพื่อซ่อมหรือตรวจสอบนั้นจะทำให้สูญเสียรายได้วันละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นนาทีละ 40,000 บาท ดังนั้นการหยุดเดินเครื่อง 1-2 วัน เงินที่เสียไปซื้อเบนซ์คันใหญ่ๆ ได้หลายคัน อีกทั้งผิดปกติภายในหอกลั่น หากไม่มีการวางแผนในการแก้ไขจะทำให้สูญเสียทั้งเงินและเวลา ทั้งนี้เราจะใช้รังสีแกมมาในการสแกนหาความผิดปกติของหอกลั่น"
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000076179
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
http://www.pnac-th.org
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://dbd-52.hi5.com
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
http://www.pnac-th.org
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://dbd-52.hi5.com
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th

สู้โรคระบาดด้วยคณิตศาสตร์ "ดร.วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์" กับภารกิจโมเดลหวัดใหญ่ 2009



 

สู้โรคระบาดด้วยคณิตศาสตร์ "ดร.วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์" กับภารกิจโมเดลหวัดใหญ่ 2009
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 กรกฎาคม 2552 11:21 น.

ดร.วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์ กับตัวอย่างแบบจำลองทำนายโรคไข้หวัดใหญ่ ที่แสดงกราฟให้เห็นว่าหากดำเนินตามมาตรฐานต่างๆ แล้ว แสดงผลของการติดโรค

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ดร.วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์

ขณะที่จำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พร้อมๆ กับข่าวการเสียชีวิตของผู้ป่วยให้เห็นมากขึ้นนั้น "ดร. วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์" นักชีวฟิสิกส์จากรั้วมหิดล ก็กำลังลุยงานด้านคณิตศาสตร์เพื่อสร้างแบบจำลองไข้หวัดใหญ่ สำหรับเป็นเครื่องมือในการทำนายโรค และเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจหลายๆ ด้านต่อการรับมือโรคระบาด
       
       จากประสบการณ์ที่เคยสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์โรคฉี่หนูและเอชไอวี (HIV) เป็นเหมือนบันไดพิสูจน์ความสามารถขั้นหนึ่ง ที่ส่งให้ รศ.ดร.วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์ นักชีวฟิสิกส์จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการสร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์ของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ร่วมกับทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญโรคระบาดจากหลายหน่วยงาน และทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ได้มีโอกาสพูดคุยถึงการทำงานแบบพหุสาขากับอาจารย์ผู้นี้
       
       การสร้างแบบจำลองไข้หวัดใหญ่นี้จำเป็น ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาความรู้ เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรคดังกล่าว ก่อนแปรเปลี่ยนเป็นแบบจำลองที่อยู่ในรูปของคณิตศาสตร์ โดยมีสาขาที่เกี่ยวข้องสำคัญๆ 4 สาขา คือ ไวรัสวิทยา โรคติดเชื้อ ระบาดวิทยา และคณิตศาสตร์-คอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาจำเป็นต้องเข้าใจการทำงานของผู้ร่วมงานแต่ละสาขา ด้วย
       
       ในส่วนของ รศ.ดร.วรรณพงษ์ เขาต้องทำความเข้าใจเรื่องโรคระบาด ไวรัสวิทยาและการติดเชื้อบ้าง ซึ่งเขาบอกกับเราว่า ไวรัสมีพฤติกรรมที่แปลก เมื่ออยู่นอกร่างกายจะเหมือนสิ่งไม่มีชีวิต แต่เมื่อเข้าไปอยู่ในร่างกายแล้วจะพยายามทำตัวให้มีชีวิต
       
       เมื่อไวรัสเข้าไปอยู่ในเซลล์ร่างกาย ก็จะพยายามพัฒนาตัวเอง โดยสร้างอาร์เอ็นเอ (RNA) ที่จำเป็นต่อการแพร่พันธุ์ ซึ่งบางครั้งก็ไม่สำเร็จ โดยระยะเริ่มต้นซึ่งเป็นระยะฟักตัวจะไม่แสดงอาการ ซึ่งหากไปตรวจก็จะพบเชื้อ แต่ยิ่งระยะเนิ่นๆ เท่าไรก็ยิ่งตรวจได้ยาก เพราะยังมีปริมาณน้อย
       
       การแก้ไขป้องกันและหยุดยั้งโรคระบาดนั้น รศ.ดร.วรรณพงษ์กล่าวว่า หากไม่ใช้คณิตศาสตร์ แพทย์ต้องอาศัยประสบการณ์ช่วย และลักษณะการระบาดจะมาเป็นระลอกคลื่น เมื่อมีคนป่วยกันเยอะขึ้น ก็จะมีภูมิคุ้มกัน และการระบาดจะลดลงไป จากนั้นไวรัสก็จะปรับตัว หรืออาจจะเรียกว่า "กลายพันธุ์" และกลับมาระบาดอีกครั้ง
       
       "อย่างไรก็ดี การระบาดที่สหรัฐฯ พบว่า ปกติเชื้อหวัดทั่วๆ ไปจะติดในคนแก่และเด็กง่าย แต่สำหรับหวัดสายพันธุ์ใหม่นี้ พบว่าคนแก่เป็นน้อย คาดว่าคนกลุ่มนี้อาจจะเจอเชื้อมาบ้าง จึงมีภูมิคุ้มกัน แต่โรคนี้มีอัตราตายน้อย เพียง 0.02%"
       
       "ช่วงแรกๆ อาจจะมีการควบคุม แต่เมื่อคนเป็นกันเยอะ บางประเทศก็ปล่อยให้เป็น เพื่อให้คนมีภูมิ แล้วหันมารณรงค์ล้างมือบ่อยๆ และอยู่บ้านแทน" รศ.ดร.วรรณพงษ์กล่าวถึงการระบาดของหวัดใหญ่สายพันธุ์
       
       สำหรับการทำงานรับมือกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ ได้กำหนดเป้าหมายร่วมกันที่จะสร้าง "แบบจำลอง" (Model) หรือโมเดลของโรคขึ้น แต่ภาษาที่ใช้กับแบบจำลองนั้น มักเป็นภาษาคณิตศาสตร์ เขาจึงได้รับภารกิจในขั้นตอนสำคัญนี้ โดยมีข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญแต่ละขาที่ทำงานร่วมกันส่งตรงมาให้
       
       ท้ายที่สุดแล้วแบบจำลองที่เขาสร้างขึ้นมานั้น ต้องพยากรณ์การระบาดของโรคได้ และผลลัพธ์ที่ได้จากโมเดลต้องถูกนำไปถกกันเพื่อดูว่า ได้โมเดลที่สมเหตุสมผลหรือไม่
       
       การอธิบายการระบาดของโรคนั้น บางครั้งต้องใส่ค่าตัวแปรต่างๆ ในสมการ อาทิ โอกาสที่คนจะมาพบกันหรือรวมกลุ่มกัน กลุ่มคนแบบไหนบ้างที่เสี่ยงรับเชื้อ เป็นต้น
       
       ทั้งนี้ในสมการของแบบจำลองนั้นมี "ตัวละคร" หรือตัวแปรกว่า 1,000 คน แต่มีตัวละครหลักๆ 3 ตัว คือ คนที่สบายดีซึ่งแทนด้วยตัวแปร S (Susceptible) คนที่ติดเชื้อแทนด้วยตัวแปร I (Infected) และคนที่ติดเชื้อแล้วหายแทนด้วยตัวแปร R (Resistant)แบบจำลองที่ใช้ตัวแปรทั้ง 3 ตัว เรียกว่า แบบจำลอง SIR Model ซึ่งเป็นแบบจำลองที่นิยมมากที่สุด สำหรับแบบจำลองของโรคระบาด
       
       "ผมเคยทำโรคระบาดอื่นมาก่อน ที่ผ่านมาก็ทำงานของตัวเอง แต่ไม่เคยทำอะไรที่ได้รับความคาดหวังสูงเท่านี้ โชคดีที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สนับสนุนงานนี้ และทำอย่างค่อนข้างมุ่งมั่น และประชุมกันทุกอาทิตย์ งานทำงานครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการนำคณิตศาสตร์มาใช้ในการ ควบคุมโรคระบาด" รศ.ดร.วรรณพงษ์เผย
       
       ควบคู่ไปกับการสร้างแบบจำลองขึ้นมาใหม่ รศ.ดร.วรรณพงษ์ ยังนำแบบจำลองที่มีอยู่แล้วในต่างประเทศ ซึ่งเป็นแบบจำลองที่สอดคล้องกับโรคระบาดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ มาปรับใช้ เพื่อตอบคำถามได้ระดับหนึ่ง ซึ่งที่ผ่านมาแบบจำลองที่นำมาปรับใช้นั้นสามารถตอบคำถามและให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้ดีพอสมควร
       
       จากนี้อีก 2 เดือนคาดว่าเราจะได้อะไรที่เป็นเรื่องเป็นราวจากการงานสร้างแบบจำลองไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้
       
       แต่สำหรับคนทำงานอย่าง รศ.ดร.วรรณพงษ์แล้ว เขามองว่า ไทยควรจะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องแบบจำลองโรคระบาดนี้โดยตรง เพราะเราไม่ทราบว่าอนาคตจะมีอะไรตามมาอีก เนื่องจากมีโรคใหม่เกิดขึ้นเรื่อยๆ.
       


http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000074654


--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
http://www.pnac-th.org
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://dbd-52.hi5.com
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
http://www.pnac-th.org
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://dbd-52.hi5.com
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th