วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

นักวิทย์น้อย ..คิดเพื่อวันพรุ่งนี้ พลังงานไฟฟ้าจากจานรับสัญญาณดาวเทียม

วันที่ 05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11562 มติชนรายวัน


นักวิทย์น้อย ..คิดเพื่อวันพรุ่งนี้ พลังงานไฟฟ้าจากจานรับสัญญาณดาวเทียม




"นาง สาวนลินี ชีวินกฤตย์กุล" นักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) จากโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย จ.ขอนแก่น นักเรียนทุนของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เห็นว่า จานกลมๆ ใบใหญ่ๆ บนหลังคาบ้านหลายๆ คนเป็นสัญลักษณ์ว่าบ้านนี้มีรายการทีวีให้ดูมากมาย หลายช่อง นอกเหนือจากฟรีทีวีทั่วไป

แต่คงไม่เคยมีใครสังเกตว่าจานใบใหญ่นี้ ใช่มีประโยชน์เพียงแค่รับสัญญาณโทรทัศน์เท่านั้น

"จาน รับสัญญาณดาวเทียม" มีหน้าที่สะท้อนสัญญาณคลื่นความถี่โทรทัศน์ที่ส่งผ่านจากดาวเทียมไปรวม สัญญาณที่มีอุปกรณ์มีลักษณ์รูปโค้งพาราโบล่า แบบกระทะ ทำด้วยเหล็ก อะลูมิเนียม หรือไฟเบอร์กลาส มีทั้งจานดาวเทียมแบบทึบ และแบบจานโปร่ง ลักษณะอย่างหนึ่งของจานรับสัญญาณดาวเทียม ที่มีรูปร่างโค้งจนน่ารวมแสงได้ดี ทำให้ "เดียร์ "หรือ "นลินี" นึกถึงแผงโซลาร์เซลล์ ตามมาด้วยคำถามในใจว่า เราจะประยุกต์จานรับสัญญาณดาวเทียมมาเป็นแผงโซลาร์เซลล์ขนาดย่อมๆ โดยทำเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง "เปรียบเทียบค่ากระแสไฟฟ้าที่ได้จากการใช้แผงโซลาร์เซลล์ติดบริเวณรวมแสงของ จานรับสัญญาณดาวเทียมเทียบกับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แบบธรรมดา"

นลินี ชีวินกฤตย์กุล


โซ ลาร์เซลล์มีชื่อเรียกหลายอย่าง ทั้งเซลล์แสงอาทิตย์ เซลล์สุริยะ ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากการตกกระทบของแสงบนวัตถุที่มีความสามารถในการ เปลี่ยนพลังงานเแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ มีลักษณะเป็นสิ่งประดิษฐ์ทำจากสารกึ่งตัวนำ เมื่อได้รับแสงอาทิตย์โดยตรงจะเปลี่ยนเป็นพาหะนำไฟฟ้า และถูกแยกเป็นประจุไฟฟ้าบวกและลบ เพื่อให้เกิดแรงดันไฟฟ้าทั้งสองของเซลล์แสงอาทิตย์

มื่อนำขั้วไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ต่อเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรง ไฟฟ้าจะไหลเข้าสู่อุปกรณ์เหล่านั้น ทำให้สามารถทำงานได้


เดียร์ นำเอาจานรับสัญญาณดาวเทียมมาชุบ "โครเมียม" เป็นโลหะมันวาวสีเทาด้วยกระแสไฟฟ้า แล้วติดแผงโซลาร์เซลล์หนึ่งแผง ที่บริเวณรวมแสงของจานรับสัญญาณดาวเทียมดังกล่าว ต่อแผงโซลาร์เซลล์บนแผ่นไม้อีกหนึ่งจุด จากนั้นเปรียบเทียบปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ได้จากอุปกรณ์แผงโซลาร์เซลล์บนจานดาว เทียมกับบนแผ่นไม้ ใช้มัลติมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้า เป็นเวลา 3 วัน วัดปริมาณกระแสไฟฟ้าทุก 12 นาที เริ่มตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. ซึ่งถือเป็นช่วงที่มีแสงแดดมากที่สุดของวัน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์

ผล ปรากฏปริมาณกระแสไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ทั้งสองแบบ พบว่าการใช้จานช่วยรวมแสงทำให้กระแสไฟฟ้าได้ค่าเทียบเท่ากับแผงโซลาร์เซลล์ ที่ติดตั้งแบบธรรมดาถึง 3 แผง โดยความเข้มแสงที่บริเวณรวมแสงเทียบกับแผงโดยรวม 3 วัน เท่ากับ 1.33 เท่า หากเราใช้จานรับสัญญาณดาวเทียมชุบโครเมียมในการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสง อาทิตย์ จะช่วยลดจำนวนการใช้แผงโซลาร์เซลล์ได้ถึง 2 แผง

เห็นได้ว่า การใช้จานรับสัญญาณดาวเทียมช่วยรวมแสงมาที่โซลาร์เซลล์ ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าดีกว่าแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งแบบทั่ว ไป

ผลที่ได้นี้จะเป็นความรู้นำไปขยายต่อ เพื่อหาแนวทางประดิษฐ์แผงโซลาร์เซลล์ให้มีขนาดเล็กลง ทนทานต่ออุณหภูมิความร้อนที่สูง ลดพื้นที่ติดตั้งและประยุกต์ใช้งานต่างๆ ได้

เรื่องที่มอง "ข้าม" หรือมองว่า "ยาก" ความจริงก็เหมือนเส้นผมบังภูเขา อาจบังตาแต่กระจ่างอยู่ในใจใครหลายคน ที่รู้จักเฉลียวใจ ใช้ความรู้ที่ได้คิดค้น ต่อเติมเป็นรูปเป็นร่างเช่นนี้นี่เอง


หน้า 26
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01epe01051152&sectionid=0147&day=2009-11-05

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น