วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข่าวจาก สกว.(จดหมายข่าว biodata ฉบับที่ 104 วันที่ 23 กรกฎาคม 2552)



ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
 
 
 
 
 



 



Subject: ข่าวจาก สกว.(จดหมายข่าว biodata ฉบับที่ 104 วันที่ 23 กรกฎาคม 2552)
From: biodata@trf.or.th
Date: Thu, 23 Jul 2009 10:11:11 +0700




สาร biodata ฉบับที่ 104
สัจธรรมการปฏิรูปการศึกษา
 
เรียนสมาชิก biodata ทุกท่าน

เดิมเราเห็นว่าวิจัยอยู่ในงานหลัง ป.ตรี เท่านั้น   สาร biodata ที่ผ่านมาได้พยายามบอกสมาชิกว่าวิจัยต้องไปอยู่ในการศึกษาทุกระดับ  เราจึงจะสร้างคนที่พร้อมที่จะพัฒนาประเทศด้วยความรู้ได้  หากการทำวิจัยพัฒนาคนในขั้นการศึกษาขั้นพื้นฐานได้  พวกเรา (อาจารย์มหาวิทยาลัย) จะได้ไม่ตำหนิการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าส่งวัตถุดิบไม่พร้อมให้อุดมศึกษา

เพื่อให้เข้าใจเรื่องนี้  เห็นทีต้องทำความเข้าใจระกว่าง "การวิจัย" และ "งานวิจัย"

คำว่า "การวิจัย" ให้ความหมายถึง "กระบวนการ"  ส่วน "งานวิจัย"  (มักจะ) หมายถึง "เนื้องาน"  เราจะได้เนื้องานก็ต่อเมื่อมีกระบวนการทำงานนั้น  หรือที่เรียกว่า "การทำงานวิจัย"

หลายคนในวงการวิจัยไม่เห็นว่างานวิจัยขนาดเล็กที่ สกว. สนับสนุนในการศึกษาคือ "การวิจัย"  เพราะเห็นแต่ "เนื้องาน" ว่าไม่เป็น "งานวิจัย"  มายาคตินี้เกิดจากเอา "งาน" มาบดบัง "การ"  จึงพลอยทำให้ไม่เห็น "พลัง" ของการวิจัยที่อยู่ในการศึกษา  และอาจจะคิดเลยไปว่าวิจัยอยู่แยกจากการศึกษา

เรื่องวิจัยกับการศึกษาที่ "สาร biodata" เสนอมาก่อนหน้านี้เป็นโครงการยุววิจัย  ที่เข้าไปปฏิรูปการวิจัยของนักเรียนมัธยม จากเดิมที่นักเรียนแยกไม่ออกระหว่างวิจัยกับสิ่งประดิษฐ์ (มักจะเอาสิ่งประดิษฐ์มาเป็นวิจัย)   ส่วนครูจะติดกับ "วิจัยในชั้นเรียน" ตาม format ของกระทรวงศึกษาฯ จนลืมวิจัยที่ตนเองเคยทำ (ครูหลายท่านจบปริญญาโททางวิทยาศาสตร์) 

ไม่มีใครสนใจเอาวิจัยเข้าไปสู่การศึกษาระดับขั้นพื้นฐานเลย  เพราะคิดว่านอกจากวิจัยไม่ fit กับ context การศึกษาแล้ว  ยัง "ไม่ใช่เรื่อง" ของตนอีกด้วย

ในขณะที่ สกอ. ได้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 (SP2) กว่าหมื่นล้านบาทเป็นงบวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ  แต่คนกระทรวงศึกษาพูดถึงการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 โดยไม่คิดถึงการวิจัยที่เป็นกิจกรรมการศึกษาเลย   งบ SP2 ที่กระทรวงมีส่วนได้หลายหมื่นล้านบาทนั้นน่าดีใจที่มีส่วนพัฒนาครูอยู่บ้าง   สำหรับในส่วนวิจัยก็ยังใช้เครื่องมือเหมือนเดิม คือ "วิจัยในชั้นเรียน"

ประสบการณ์ของ สกว. ในการสนับสนุนการวิจัยระดับโรงเรียนมัธยมมา 5-6 ปีได้บทเรียนมากมาย  จนเป็นที่ยอมรับของฝ่ายวิจัยและพัฒนา (R&D) ใน สกว. แทบทุกฝ่าย  เกิดการขยายตัวจากฝ่ายอุตสาหกรรม (ยุววิจัยางพารา  ยุววิจัยท่องเที่ยว) ไปสู่ฝ่ายเกษตร (ยุววิจัยไม้ผล)  ฝ่ายชุมชน (ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น)  (ส่วนฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะนั้นมีครุวิจัยอยู่ก่อนแล้ว)  ซึ่งแสดงว่า สกว. ฝ่ายวิจัยและพัฒนามั่นใจในโครงการยุววิจัยว่าจะเป็นรากฐานการสร้างคนที่จะมาเป็นกลไกพัฒนาประเทศ  ตามปณิธานของ สกว. ได้

ความมั่นใจนี้ได้รับการตอกย้ำเมื่อ ศ. นพ. วิจารณ์  พานิช  นำหนังสือ "วิจัย...พลังเปลี่ยนการเรียนรู้" ที่ สกว. เขียนจากประสบการณ์การให้ครูและนักเรียนทำงานวิจัยไปเขียนใน blog ของท่านว่า

"...หนังสือในชุด "วิจัย...พลังเปลี่ยนการเรียนรู้"  ทำให้ผมตาสว่าง เห็นสัจธรรมว่า การวิจัยจะช่วยปฏิรูปการศึกษาหรือการเรียนรู้ได้จริงๆ..."

หนังสือนี้หาซื้อได้ที่ http://www.trf.or.th/book   สมาชิก biodata ได้ส่วนลดตามกติกา

ฉบับนี้ขึ้นต้นไว้ด้วยเรื่อง "การวิจัย" และ "งานวิจัย" แต่ยังไปไม่ถึงไหนเลย  ฉบับหน้าจะต่อให้จบครับ

ข่าวประชาสัมพันธ์

ประกาศทุนของสกว.  คลิก

รายการวิจัยไทยคิด วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม 2552  ตอน "ยุววิจัยยางพารา" สามารถติดตามชมตอนที่ผ่านมาได้    คลิก

ข้อมูล biodata ล่าสุด

ข้อมูลถึงวันที่ 23 กรกฎาคม 2552 มีผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น 9,214 ราย
จำนวนสมาชิกระดับ Platinum 25 คน เพิ่มจากสัปดาห์ที่แล้ว 3 ท่าน ดังนี้
ดร. วารุณี เปรมานนท์
ดร. อุรา ปานเจริญ
ดร. สนทยา ลิ้มมัทวาภิรัติ์
จำนวนสมาชิกระดับ Gold  76  คน
จำนวนสมาชิกระดับ Silver  9110  คน

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
23  กรกฎาคม 2552




แบ่งปันรูปถ่ายกันอย่างง่ายดายด้วย Windows Live™ Photos ลากแล้วปล่อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น