วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข่าวจาก สกว.(จดหมายข่าว biodata ฉบับที่ 103 วันที่ 16 กรกฎาคม 2552)



ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
 
 
 
 
 



 



Subject: ข่าวจาก สกว.(จดหมายข่าว biodata ฉบับที่ 103 วันที่ 16 กรกฎาคม 2552)
From: biodata@trf.or.th
Date: Thu, 16 Jul 2009 09:52:45 +0700



 สาร  biodata ฉบับที่  103
ช่างเฟอร์นิเจอร์

เรียนสมาชิก biodata ทุกท่าน

        ช่วงนี้งานของทีม biodata ค่อนข้างยุ่ง ส่วนหนึ่งเพราะกำลังพัฒนาหน้า web ใหม่ให้สดใสใช้งานง่ายกว่าเดิม  จึงไม่ได้มีเวลาหา material ใหม่ๆ มาเล่าสู่กันอ่าน  วันนี้จึงขอยืมที่พบในคำนำหนังสือเล่มหนึ่งที่พิมพ์โดย สกว. มาถ่ายทอด  เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่สมาชิกไม่มากก็น้อย

         "ในการบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อเป้าหมายการใช้ประโยชน์ได้นั้น การสนับสนุนในส่วนของ "แนวคิด" มีความสำคัญยิ่งกว่าการสนับสนุนงบประมาณด้วยซ้ำไป เพราะหากแนวคิดไม่ถูกต้อง  งบประมาณที่ให้ไปก็ได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ คืออาจได้เพียงช่วยให้นักวิจัยได้ "ฝึกทำวิจัย" อีกชิ้นหนึ่งเท่านั้น  เราเห็นได้ชัดจากงานวิจัยหลายชิ้นว่า  นักวิจัยถนัดที่จะทำวิจัยแบบ "เอาเทคนิคมานำทาง" (technique-oriented)  คือใช้เทคนิคเป็นเครื่องมือ (tool)   งานประเภทนี้มักจะปรากฎเป็นวิทยานิพนธ์  คือฝึกให้คนทำวิจัยให้เป็น   งานจึงซ้ำๆ ในวิธีการเดิมๆ (ที่ตนเองหรือคนอื่นเคยทำไว้แล้ว  เพียงแต่เปลี่ยนตัวอย่างไป)   เหมือนคนมีค้อนแล้วไล่ตอกตะปูไปในทุกที่  นานไปก็ตอกได้แม่น  รู้น้ำหนักและจังหวะค้อนที่จะทำให้ตะปูเข้าเนื้อไม้โดยไม่งอพับ   คนที่ทำวิจัยแบบนี้จะเก่งในวิธีการ....  แต่เปลืองตะปู  โดยไม่ได้เก้าอี้ที่อยากได้  งานวิจัยที่จะใช้ประโยชน์ได้จริงนั้นต้องมีเป้าหมายการทำ   เป้าหมายที่เห็นชัดที่สุดคือการคิดทำวิจัยแบบ "เอาปัญหาเป็นฐานความต้องการทำ" (problem-based)  และมีเป้าหมายให้ได้คำตอบ (solution-targeted)   โจทย์วิจัยที่มีเจ้าของเป็นสิ่งที่มีบริบท  คือจะตอกตะปูก็รู้ว่ามีปัญหาจากการไม่มีเก้าอี้นั่ง (problem)  จึงตอกตะปูเพื่อให้ชิ้นไม้ยึดติดกันเป็นเก้าอี้ (solution)

        ดังกล่าวแล้วว่า  งานวิจัยแบบ "เอาเทคนิคมานำทาง" นั้น  เหมาะสำหรับการฝึกคนเพื่อสร้างนักวิจัย   จึงเหมาะกับงานประเภทวิทยานิพนธ์  แต่หากหวังผลแค่นั้น  เราแทบไม่ต้องจัดการอะไรเลยก็ได้   เพียงแค่หาคนที่มีค้อนให้เจอแล้วมอบตะปูให้เขาเอาไปหัดตอกให้เป็น  ซึ่งในที่สุดเราก็จะได้คนมีทักษะตอกตะปูเต็มไปหมด  แต่ไม่มีช่างเฟอร์นิเจอร์เลยสักคน  แถมบางครั้งค้อนใช้ไม่ได้  เพราะบริบทเปลี่ยนไป เช่นพบว่า "ที่อยู่ในมือนั้นคือตะปูเกลียว  ค้อนตอกไม่เข้าหรอก  ไปหาไขควงมาขันเถอะ"   ได้ไขควงมาแล้ว  เราอาจพบว่านักวิจัยไม่ทราบว่าการขันเข้านั้นต้องหมุนซ้ายหรือหมุนขวาก็มี!!

หากเราต้องการสร้างคนให้สอดคล้องกับความต้องการในการสร้างเศรษฐกิจ  เราต้องสร้างคนที่ผลิตผลงานที่ใช้ได้  นั่นคือ ต้องสร้างคนแบบเป็นช่างเฟอร์นิเจอร์"

        รัฐบาลมีงบกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 (SP2) หลายแสนล้านบาท  วงการการศึกษาและวิจัยล้วนได้งบประมาณกันมากมาย ผมไม่ทราบเหมือนกันว่าสุดท้ายแล้วการกระตุ้นเศรษฐกิจจะเป็นเพียงเงินหมุนเวียนจากการซื้อขายตะปู  หรือได้เฟอร์นิเจอร์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น  ท่านใดที่มีส่วนในการใช้งบนี้ขอฝากให้คิดถึงการใช้ให้คุ้มค่าด้วย  เพราะนี่คือหนี้สาธารณะ  ที่เราทุกคนมีส่วนเป็นทั้งเจ้าหนี้ (หากแย่งซื้อพันธบัตรทัน) และลูกหนี้ (ในฐานะผู้จ่ายภาษี)

ฝากให้ช่วยกันเข้าหน้า web biodata แล้วใช้งานดู  แล้วแจ้งกลับด้วย  สกว. จะได้ปรับปรุงให้ถูกใจท่าน   

 ข่าวประชาสัมพันธ์

ประกาศทุนของสกว.  คลิก

รายการวิจัยไทยคิด วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม 2552  ตอน "อาหารเพื่อสุขภาพ" สามารถติดตามชมตอนที่ผ่านมาได้    คลิก

ข้อมูล biodata ล่าสุด

ข้อมูลถึงวันที่ 16 กรกฎาคม 2552 มีผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น 9,207 ราย

จำนวนสมาชิกระดับ Platinum:  22 คน
จำนวนสมาชิกระดับ Gold:  73 คน
จำนวนสมาชิกระดับ Silver:  9,111  คน
 

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
16  กรกฎาคม 2552




ด้วย Windows Live คุณสามารถจัดการ แก้ไข และ แบ่งปันภาพถ่ายของคุณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น