วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

GR-HEP-Cosmo งานประชุมแรกที่รวม ศ.ฟิสิกส์ถึง 5 คน

GR-HEP-Cosmo งานประชุมแรกที่รวม ศ.ฟิสิกส์ถึง 5 คน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 กรกฎาคม 2552 17:56 น.

ศ.แอนน์ เดวิส (ภาพประกอบส่วนหนึ่งจาก สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์)

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ศ.หยู๋เผิง แหยน

ศ.หยู๋เผิง แหยน และ ศ.แอนน์ เดวิส

เวทีเสวนาสาธารณะด้านฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยา

นักเรียนมัธยมร่วมฟังเสวนาสาธารณะด้านฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยา


นายรักพงษ์ กิตตินราดร

(ซ้าย) น.ส.พันธุ์ทิพย์ ฟั่นบ้านไร่ (ขวา) น.ส.ณัฏฐณิชา เขตสูงเนิน

หลังการเสวนา ดร.บุรินทร์ (ขวา) และ ศ.แอนน์ เดวิส ร่วมถ่ายรูปกับพิธีกรในการเสวนา

ครั้งแรกของงานประชุมวิชาการไทย ที่รวม "ศาสตราจารย์" ด้านฟิสิกส์ถึง 5 คน ภายในงานประชุม GR-HEP-Cosmo งานประชุมสำหรับนักฟิสิกส์ทฤษฎี ที่จัดขึ้นในพิษณุโลก พร้อมเวทีเสวนาสาธารณะเล่าเรื่อง "ฟิสิกส์และจักรวาล" แก่ผู้สนใจทั่วไป
       
       สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์สำหรับฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยา (TPTP) ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) ร่วมกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. สถาบันบริหารการวิจัยและพัมนา มหาวิทยาลัยนเรศวร และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมจัดงานประชุม The 4th Siam Symposium on GR-HEP-Cosmo ซึ่งเป็นงานประชุมฟิสิกส์ทฤษฎีทางด้านทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ฟิสิกส์พลังงานสูงและจักรวาลวิทยา ระหว่างวันที่ 26-28 ก.ค.52 ณ โรงแรมรัตนา ปาร์ก
       
       ดร.บุรินทร์ จำกัดภัย หัวหน้าครูสถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ฯ และอาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ มน. กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมวิชาการครั้งแรกของเมืองไทยที่มี "ศาสตราจารย์" ทางด้านฟิสิกส์เข้าร่วมถึง 5 คน ซึ่งเป็นครั้งที่ 4 ของการประชุมฟิสิกส์และเอกภพ (Thai Physics and the Universe Symposium) ของสถาบัน ที่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2546 และต่อเนื่องอีก 2 ปี แต่ได้เว้นว่างไป 4 ปีเพื่อเตรียมความพร้อม
       
       "เป้าหมายของการประชุมนี้ คืออยากให้เด็กได้ฟังวิทยากรระดับโลก และฝึกให้เด็กได้พูดบรรยายในเวทีสัมมนา" ดร.บุรินทร์กล่าว
       
       ทั้งนี้ มีศาสตราจารย์ทางด้านฟิสิกส์ที่เข้าร่วมประชุมและบรรยายพิเศษ คือ ศ.แอนน์ เดวิส (Prof.Anne Christine Davis) จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) สหราชอาณาจักร ศ.เดวิด รัฟโฟโล (Prof.David Ruffolo) จากมหาวิทยาลัยมหิดล ศ.ดักลาส ซิงเกิลตัน (Prof.Douglas Singleton) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียสเตท (California State University) สหรัฐฯ ศ.หยู๋เผิง แหยน (Prof.Yupeng Yan) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ ศ.ไมค์ บิสเซส (Prof.Mike Bisset) จากมหาวิทยาลัยซิงหัว (Tsinghua University) สาธารณรัฐประชาชนจีน
       
       ภายในการประชุม 2 วันแรก ศ.เดวิส ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อพลังงานมืดแบบคาเมเลียน (Chameleon Dark Energy) และ ศ.หยางได้บรรยายในหัวข้อควอนตัมโครโมไดนามิกส์ (Quantum Chromodynamics) โดยศาสตราจารย์ทั้ง 5 ได้บรรยายทางด้านฟิสิกส์ทฤษฎีในวันสุดท้ายของการประชุม GR-HEP-Cosmo ซึ่งเวทีประชุมย้ายไปที่ มน. เพื่อร่วมกับการประชุมวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวรครั้งที่ 5
       
       นอกจากนี้ภายในการประชุม ยังได้จัดเวทีเสวนาสาธารณะ-วัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ TPTP ครั้งที่ 3 เรื่อง "ฟิสิกส์กับจักรวาล" ซึ่งเปิดให้ประชาชนที่สนใจเข้าร่วม 100 คน ซึ่งในเสวนาดังกล่าวมีนักเรียน ระดับ ม.ปลายจากโรงเรียนในพิษณุโลกเข้าร่วม โดยมี ดร.ปิยบุตร บุรีคำ นักฟิสิกส์พลังงานสูง จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.เดวิส และ ดร.บุรินทร์ ร่วมเสวนา
       
       ด้าน นายรักพงษ์ กิตตินราดร บัณฑิตฟิสิกส์จากมาหวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเตรียมตัวเดินทางไปศึกษาต่อทางด้านฟิสิกส์ทฤษฎีด้วยทุนมหาวิทยาลัยยูเทรคท์ (Utrect University) เนเธอร์แลนด์ กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ฯ จัดประชุมโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาบรรยายพิเศษ ทำให้ได้ประโยชน์จากตรงนี้เป็นหลัก ร่วมทั้งได้ความรู้จากอาจารย์ของสถาบันฯ เองด้วย
       
       “ผลจากการเข้าร่วมประชุม ทำให้เราได้กระตือรือล้นมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักฟิสิกส์ทฤษฎี เพราะเราไม่มีอะไรมาคอยจี้ การมาร่วมงานอย่างนี้ ทำให้ได้แรงบันดาลใจที่จะคิดต่อยอด ได้ดูการทำงานนักวิทยาศาสตร์และวิทยากรระดับนานาชาติจากการนำเสนองาน ซึ่งเป็นแนวทางในการทำงานในอนาคต ชอบงานนี้ตรงที่มีการบรรยายเป็นคอร์สสั้นๆ ต่างจากที่อื่นซึ่งพูดแค่ 15 นาที ทำให้ไม่ได้อะไรนัก สุดท้ายได้รู้จักคนเพิ่ม เป็นคนที่สนในเรื่องเดียวกันและอนาคตจะได้กลับมาทำงานร่วมกัน" รักพงษ์กล่าว
       
       ส่วน น.ส.ณัฏฐณิชา เขตสูงเนิน และ น.ส.พันธุ์ทิพย์ ฟั่นบ้านไร่ สองนักศึกษาปี 3 จากภาควิชาฟิสิกส์ มน. ซึ่งเป็นนักเรียนของสถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ เผยกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ว่า แม้จะฟังนักฟิสิกส์ต่างชาติบรรยายพิเศษไม่ค่อยเข้าใจเท่าใด แต่ก็ได้รับแรงบันดาลใจ และได้ทราบจุดบกพร่องว่าต้องกลับไปแก้ไขตรงจุดไหนบ้าง.

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000085428


--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.parent-youth.net
http://ilaw.or.th
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://www.projectlib.in.th
http://elibrary.nfe.go.th
http://www.nstda.or.th/th
http://www.arda.or.th
http://www.nppdo.go.th
http://www.tlcthai.com
http://dbd-52.hi5.com
http://www.oknation.net/blog/assistance
http://weblogcamp2009.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น